Stories

12 มิถุนายน 2023
เทคนิคการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุแบบ Universal Design
“ห้องน้ำ” ถือเป็นหนึ่งในจุดเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุไม่ปลอดภัยแม้จะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็ตาม มาร่วมกันป้องกันอุบัติเหตุในห้องน้ำได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุตามหลักสากลแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ตอบสนองการใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ให้คนในบ้านสามารถใช้งานได้อย่างอุ่นใจ ไร้ความเสี่ยง!
เข้าใจความแตกต่างของผู้สูงอายุในแต่ละระดับ
ก่อนจะไปทำความเข้าใจกับการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุตามแนวคิดอารยสถาปัตย์ ต้องมารู้ก่อนว่า จริง ๆ แล้วผู้สูงอายุเองก็มีการประเมินแบ่งระดับความแตกต่างกันตามลักษณะทางกายภาพและสมรรถนะทางร่างกายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยแต่ละระดับจะคำนึงถึงการออกแบบห้องน้ำที่เฉพาะและเหมาะสมกับความเสื่อมถอยของร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้
ผู้สูงอายุกลุ่มสีเขียว
กลุ่มที่สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกบ้านได้ตามปกติ แต่อาจมีความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาวะในอนาคต หากไม่มีการป้องกันและดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง และด้วยสภาพร่างกายที่ยังถือได้ว่าสมบูรณ์ กลุ่มสีเขียวจึงจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่สามารถป้องกันตัวเองระหว่างการใช้ห้องน้ำได้ดี
ผู้สูงอายุกลุ่มสีเหลือง
เริ่มเป็นกลุ่มที่มีการเสื่อมถอยของสภาพร่างกายและสุขภาพเล็กน้อย แต่ยังพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ซึ่งถ้าบ้านไหนมีสมาชิกที่เข้าข่ายระดับสีเหลืองก็ควรที่จะต้องเริ่มใส่ใจเรื่องการออกแบบห้องน้ำให้ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ผู้สูงอายุกลุ่มสีส้ม
จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพค่อนข้างมาก และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางกิจกรรม ทำให้ต้องพึ่งพาอุปกรณ์และผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องหันมาใส่ใจกับการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก
ในส่วนของรายละเอียดการออกแบบ คุณสมบัติที่สำคัญ และมาตรฐานฉากกั้นห้องอาบน้ำเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ จะเล่าเป็นลำดับถัดไป เพื่อขยายความเข้าใจให้คุณสามารถเลือกโซลูชันได้อย่างเหมาะสมกับการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุภายในบ้าน
หลักการออกแบบห้องน้ำด้วยอารยสถาปัตย์ (Universal Design)
อารยสถาปัตย์ หรือ Universal Design คือแนวคิดในการออกแบบที่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกให้แก่ทุกกลุ่ม ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุและบุคคลทุพพลภาพ
ซึ่งแนวคิดนี้ได้นำมาประยุกต์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักการออกแบบสำหรับรองรับห้องน้ำผู้สูงอายุ ทั้งในสถานที่สาธารณะรวมไปถึงที่พักอาศัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปราศจากสิ่งกีดขวางที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงหรือปรับปรุงพื้นที่ห้องน้ำ เพียงทำการติดตั้งโซลูชันที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัว เท่านี้ก็จะช่วยลดทอนความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ
คุณสมบัติการออกแบบห้องน้ำด้วย Universal Design
สำหรับหลักการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุและบุคคลทุพพลภาพด้วย Universal Design ถือได้ว่ามีรายละเอียดอยู่หลายจุดที่สำคัญ และเป็นปัจจัยหลักต่อการออกแบบตามหลักสากล เพื่อให้รองรับความปลอดภัยได้ตามมาตรฐานการใช้งาน และนี่คือคุณสมบัติหลักโดยรวมที่จำเป็นต้องรู้ ดังนี้
- วัสดุปูพื้นแบบกันลื่น
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากความลื่นของพื้นผิว หนึ่งในคุณสมบัติที่จำเป็นของ Universal Design จึงเป็นการเลือกวัสดุปูพื้นที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการหกล้มอย่าง “กระเบื้องพอร์ซเลน” ตัวเลือกวัสดุที่มีลวดลาย และพื้นผิวช่วยป้องกันการลื่นได้ดีกว่าพื้นผิวอื่น ๆ
- พื้นที่กว้างขวาง คล่องตัวเมื่อใช้งาน
คุณสมบัติถัดมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คือเรื่องพื้นที่ใช้สอยภายในห้องน้ำ ทั้งโซนเปียกและแห้ง ที่ควรจะมีส่วนเว้าโค้ง พร้อมรองรับรัศมีวงเลี้ยวของรถเข็นวีลแชร์สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และที่สำคัญประตูจะต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 36 นิ้ว เพื่อให้สามารถรองรับได้ทั้งรถเข็นและคนเดิน
- โซลูชันเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัว
นอกเหนือจากเรื่องของความคล่องตัวแล้ว การออกแบบตามหลัก Universal Design สำหรับห้องน้ำผู้สูงอายุยังควรติดตั้ง “ราวจับ” เพื่อเป็นโซลูชันเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัวให้แก่ผู้สูงอายุ โดยแนะนำให้ติดตั้งในบริเวณที่ใกล้กับชักโครก ฝักบัว และอ่างอาบน้ำ เพื่อให้รองรับการนั่ง ยืน และเคลื่อนที่ที่มั่นคง
- ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
ประการสุดท้ายของคุณสมบัติในการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุตามหลัก Universal Design คือการติดตั้งโซลูชันแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยสนับสนุนการมองเห็นให้แก่ผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา โดยใช้หลัก Lighting Design เพื่อสร้างสมดุลระหว่างแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ ให้เกิดเป็นความสว่างที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน
มาตรฐานฉากกั้นห้องอาบน้ำสำหรับห้องน้ำผู้สูงอายุ
หลังจากทำความเข้าใจกับการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุเชิงอารยสถาปัตย์กันไปแล้ว ลำดับถัดมา เราจะเจาะลึกกันว่ามาตรฐานของฉากกั้นห้องอาบน้ำที่ดีควรมีอะไรบ้าง เพื่อส่งเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับพื้นที่โซนเปียก ให้ใช้งานได้อย่างอุ่นใจ
- กระจกใสนิรภัย: ฉากกั้นห้องอาบน้ำที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบห้องน้ำตามหลัก Universal Design ควรเป็นกระจกใสนิรภัย หรือกระจกเทมเปอร์ที่เป็น Double Safety Glass (DS) ช่วยป้องกันความปลอดภัยจากอันตราย ในกรณีที่เกิดการแตกกระจายของกระจก เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่มีการยึดระหว่างกระจก DS ทั้งสองแผ่นด้วยฟิล์มนิรภัยชนิดพิเศษ จึงทำให้ลดโอกาสเสี่ยงที่กระจกจะบาดจนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
- รูปแบบของฉากกั้นอาบน้ำ: ควรเป็นแบบบานฟิกซ์บานเดียว หรือบานสไลด์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน ป้องกันการออกแรงที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน รวมถึงการขวางกั้นของบานประตูแบบเปิด-ปิด ที่ทำให้การเข้าถึงผู้สูงอายุในกรณีฉุกเฉินเป็นไปอย่างยากลำบาก
- ทางเข้าและความกว้างที่ได้มาตรฐาน: เพื่อให้สะดวกต่อผู้สูงอายุที่ต้องมีคนดูแลและใช้รถเข็น โดยความกว้างขั้นพื้นฐานจะอยู่ที่ 80 เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว
- ติดตั้งราวจับช่วยพยุงตัว: เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวและมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดได้จากความลื่นของพื้นวัสดุ และความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุได้
หากคุณมีคนในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ หรือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว และอยากปรับปรุงห้องน้ำให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องคอยกังวลเรื่องความเสี่ยง สามารถมาเลือกซื้อฉากกั้นห้องอาบน้ำที่ได้มาตรฐานสากลตามแนวคิด Universal Design ได้ที่ ShowerKing ผู้นำด้านอุปกรณ์ห้องอาบน้ำที่พร้อมช่วยดูแลให้อุ่นใจ ได้ทุกความปลอดภัยในการใช้ห้องอาบน้ำ มีบริการติดตั้งและดูแลถึงบ้าน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 066-093-9911 และ 066-105-9911 หรือ LINE OA: @showerking และ Facebook Page: ShowerKing